วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

คำศัพท์ภาษาอังกฤา น่ารู้เกี่ยวกับการซื้อของ

คำศัพท์ภาษาอังกฤา น่ารู้เกี่ยวกับการซื้อของ

โรงเรียนของเราน่าอยู่
คุณครูใจดีทุกคน

ช่วยหันข้าง  มาอีกข้างหนึ่งหน่อย
ไม่อยากแอบรักเธอข้างเดียว

\






วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

ล้มเหลวเพื่อสำเร็จ

ล้มเหลว เพื่อสำเร็จ


ขอบคุณการสอบวันนี้ที่ทำให้รู้ว่าฉันไม่พร้อมแค่ไหน ที่จะเข้าแข่งขันกับคนอื่น

ขอบคุณที่ทำให้รู้ว่าตลอดระยะเวลาหลายสิบปีมานี้ ที่คิดและหลงผิดไปเองว่าการสอบนั้นมันแสนง่าย และฉันผ่านมันไปได้อย่างสบาย หรืออาจเป็นเพราะว่า ฉันวิตกกังวลเกินไป ความคิดลบๆ เข้ามาทำร้ายตัวเอง

ขอบคุณที่จะทำให้ฉันเกิดแรงกระตุ้นที่จะก้าวผ่านมันไปได้อย่างแข็งแกร่ง

ขอบคุณที่สร้างโอกาสที่จะได้ไปเรียนอะไรใหม่ๆ

ขอบคุณที่ได้เห็นอะไร ๆ ชัดเจนมากขึ้น

ความล้มเหลว  ------------------------------สาเหตุ
ทำข้อสอบไม่ทัน ----------------------------บริหารจัดการเวลาไม่ทัน

ความล้มเหลว  ------------------------------สาเหตุ
กังวลในขณะทำข้อสอบ ----------------------------ผิดกันกับเจ้าหน้าที่คุมสอบ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

‘หนังสือ’ อาหารสมอง สร้างสรรค์ปัญญา
‘การอ่านหนังสือ’ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ และส่งเสริมการเรียนรู้ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างศักยภาพทางความคิด อารมณ์ และจิตใจ ให้กับผู้อ่านได้ทุกช่วงวัย
‘หนังสือ’ อาหารสมอง สร้างสรรค์ปัญญา thaihealth
“หนังสืออาหารสมอง”
นางสุดใจ พรหมเกิด  ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน พูดถึงความสำคัญของการอ่านหนังสือว่า ‘การอ่าน’เป็นรากฐานของกระบวนการทางความคิด และยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ซึ่งการสร้างวัฒนธรรมการอ่านเป็นสิ่งที่สมควรปลูกฝังให้กับเด็กและเยาวชน โดยพ่อแม่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เด็กๆ หันมาสนใจการอ่านหนังสือ ซึ่งการคัดเลือกหนังสือและสร้างเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมกับลูกน้อย พ่อแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการของลูกแต่ละช่วงวัย โดยใช้ ‘หน้าต่างแห่งโอกาส’ ที่หมายถึง โอกาสทองในการพัฒนาสมองและลักษณะที่เหมาะสมกับเด็ก ซึ่งมีความสำคัญต่อลูกน้อยเช่นกัน
“หน้าต่างแห่งโอกาส”
นางสุดใจ อธิบายว่า ‘หน้าต่างแห่งโอกาส’ ที่พ่อแม่ช่วยเสริมสร้างของเด็กในช่วงวัย 0-2 ปี จะเป็นเรื่องของความรักความผูกพัน ความไว้วางใจผู้อื่น เมื่อเข้าสู่วัย 3-5 ปี สามารถเสริมสร้างเรื่องของการควบคุมอารมณ์ และรู้จักถูกผิด ส่วนวัย 6-9 ปี ควรเสริมสร้างด้านการเรียนรู้ การเห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย ประหยัด และรู้จักคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม
เมื่อเข้าสู่ช่วงวัย 9-12 ปี เป็นวัยที่เหมาะสมแก่การพัฒนาคุณภาพของสมอง ความคิด ทักษะการใช้ชีวิต การตื่นรู้ทางปัญญา และเมื่ออายุ 12 ปีขึ้นไป สามารถเสริมสร้างด้านค่านิยมเชิงบวก ค่านิยมทางสังคมและทางเพศ ซึ่งการเสริมสร้างหน้าต่างแห่งโอกาสให้กับเด็กอย่างเหมาะสม จะทำให้ลูกน้อยเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพและความสุข
‘หนังสือ’ อาหารสมอง สร้างสรรค์ปัญญา thaihealth
“หนังสือกับช่วงวัยที่เหมาะสม”
 “การคัดเลือกหนังสือให้เหมาะสม และเสริมสร้างหน้าต่างแห่งโอกาสให้กับเด็กตั้งแต่  0-6 ปี จะเริ่มจากช่วงวัย 8-10 เดือน สายตาเริ่มทำงานได้แล้ว ควรเลือกหนังสือที่มีลักษณะนุ่ม ปลอดสารพิษ เพราะเด็กวัยนี้จะมองหนังสือเป็นของเล่น จนมีอายุถึง 2 ขึ้นไป จนถึง 6 ปี ควรให้เด็กได้สัมผัสหนังสือที่เป็นรูปเล่ม เลือกหนังสือที่มีภาพมากกว่าคำบรรยาย พ่อแม่อาจสังเกตความชอบของลูกๆ ว่าเขาให้ความสนใจกับอะไรเป็นพิเศษ และหาหนังสือให้สอดคล้องกับสิ่งนั้น” ผู้จัดการแผนงานฯ แนะนำ
ผู้จัดการแผนงานฯ เสริมว่า พอเด็กถึงวัย 9-12 ปี จะชอบการสืบค้น และสนุกกับการตอบคำถามปริศนาคำทายต่างๆ สามารถเลือกหนังสือที่เกี่ยวข้องกับภาษา คณิตศาสตร์ และความคิดให้อ่านได้ หนังสือที่มีความสำคัญต่อเด็กวัยนี้ คือ หนังสือประเภทวรรณกรรมเยาวชน วรรณกรรมคลาสสิค และวรรณกรรมใหม่ หนังสือการ์ตูนคอมมิค หรือ หนังสือภาพการ์ตูน หนังสือประเภทสาระความรู้ ที่มีเนื้อหาทำให้เกิดความเกื้อกูล เห็นคุณค่า ทัศนคติเชิงเพศและสังคม จะมีความเป็นเรื่องราวที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ซึ่งเป็นวัยที่ชอบค้นหาและช่างสังเกต
‘หนังสือ’ อาหารสมอง สร้างสรรค์ปัญญา thaihealth
“อ่านหนังสือกันเถอะ”
ผู้จัดการแผนงานฯ บอกว่า การอ่านหนังสือให้ลูกฟังก่อนนอนเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย  ลูกจะเกิดจินตนาการตามสิ่งที่พ่อแม่อ่าน และจะมองเห็นว่าสิ่งที่เขาชอบมาจากตัวหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้ฟัง และจะส่งเสริมให้เด็กเริ่มอยากอ่านหนังสือตาม พ่อแม่สามารถอ่านหนังสือให้ลูกฟังได้ทุกวัน วันละ 10-15 นาที ลูกน้อยจะมีพฤติกรรมทางไอคิว และอีคิวแตกต่างจากเด็กที่ไม่ได้อ่านหนังสืออย่างชัดเจน เริ่มแรกอาจเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาเบาๆ  สบายสมอง ช่วยให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อ
“ที่สำคัญคือ เด็กช่วงวัย 9-12 ปี จะมีความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น มีความสามารถในการเรียนรู้สูงมาก จะจดจำคำได้เยอะ อ่านหนังสือได้อย่างรวดเร็ว”
เพราะเมื่อเด็กได้มีโอกาสพัฒนาด้านการอ่านอย่างเต็มที่ จะทำให้เขากล้าเข้าไปสู่การเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขตและพรมแดนได้ตลอดชีวิต
 
เรื่องโดย พิมพ์ชนก ศรเพชร Teacm Content www.thaihealth.or.th
การอ่านช่วยเพิ่มรอยหยักให้สมองจริงหรือไม่? หาคำตอบกับหนูดี วนิษา เรซ
 
การอ่านช่วยเพิ่มรอยหยักให้สมองจริงหรือไม่ วันนี้ (2มี.ค.57) คุณหนูดี วนิษา   เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและการเรียนรู้ มาพูดคุยให้คำตอบในรายการ คิดระหว่างบรรทัด เกี่ยวกับเรื่องความคิด ความจำ สมองกับการอ่าน

เริ่มคำถามเกี่ยวกับการอ่านมีผลดีต่อสมองหรือไม่  คุณหนูดี อธิบายว่า การอ่านมีผลดีมาก คือช่วยจัดระเบียบสมองของเรา เพราะภาษาและคำพูดของมนุษย์เป็นเครื่องมือให้ความคิดของเราก่อน แม้กระทั่งเวลาฝันหรือเวลาที่พยายามรวบรวมความคิด เวลาพูดหรือคิดกับตัวเองก็ต้องคิดเป็นภาษา ฉะนั้นเวลาได้อ่านหนังสือก็จะได้โครงสร้างวิธีการคิด ประโยคของนักเขียนหรือผู้เขียน ได้มีโอกาสเลียนแบบ โดยเฉพาะได้อ่านหนังสือของผู้ที่เป็นนักปราชญ์หรือนักคิดระดับสุดโลก เราก็จะได้เลียนแบบวิธีการคิด สร้างรูปแบบการคิดของเราให้เหมือนนักเขียนนักคิดนั้นๆ


“เด็กที่โรงเรียนของหนูดี ก็ให้อ่านหนังสือเยอะๆ เมื่อขึ้นประถมปีที่ 2 โรงเรียนจะมีกฎให้อ่านหนังสือเทอมละ 500 เล่ม ตอนแรกก็กังวลว่าเด็กจไหวไหม ผู้ปกครองจะต่อต้านหรือไม่ แต่พอลองทำจริงๆ ทำมาพักใหญ่ปรากฏว่า เด็ก happy เด็กเป็นคนที่ไม่มีปัญหาเลย และผู้ปกครองจะบอกว่า เด็กจะพูดจาคมขึ้น มีการพูดคำคมในหนังสือ มีวิธีคิดที่เฉียบคิด ก็เลยคิดว่า จริงๆ เด็กทำได้ และการอ่านมีผลต่อสมองเด็กจริงๆ” คุณหนูดี ยกตัวอย่างประกอบ

เมื่อถามถึงวิธีการอ่านให้จดจำได้เร็ว คุณหนูดี บอกว่า สังเกตว่า คนที่อ่านช้าจะได้จำได้น้อยกว่าคนที่อ่านเร็ว ทั้งที่ก่อนหน้านี้เราคิดว่า ถ้าอ่านช้าๆ จะสามารถเก็บรายละเอียดได้ดี แต่จริงๆ แล้วคนที่อ่านช้าจะไม่เห็นภาพรวมของหนังสือ อย่างตัวเองจะเห็นชัดเลยว่า ถ้าอ่านเร็วจะสามารถเห็นภาพรวมเร็วมาก พอได้ภาพรวมของหนังสือแล้ว เอารายละเอียดลงไปใส่ในภาพรวมกลายเป็นเราจำหนังสือได้แม่นกว่า

“สมมติเราเป็นคนอ่านช้า อ่านยังไงก็ไม่จบเล่ม สมมติมี 6 ประเด็นหลัก ถ้าเราเห็นภาพรวม 6 ประเด็น มันมีโครงสร้างเป็นภาพจำในสมอง 6 ประเด็น แต่ถ้าเราเห็นทีละประเด็น มันจะไม่เกิดภาพจำ ก็จะไม่สามารถจำรายละอียดได้ สำหรับการอ่านเร็วก็มีการฝึก แต่ส่วนตัวเป็นคนอ่านหนังสือเยอะ จึงทำให้กลายเป็นคนอ่านเร็วไปเอง” คุณหนูดี อธิบายพร้อมยกตัวเองเป็นตัวอย่าง
เมื่อถามว่า เด็กที่ให้อ่านหนังสือเทอมละ 500 เล่ม จะต้องฝึกให้อ่านเร็วด้วยหรือไม่ คุณหนูดี เล่าว่า ถ้าเด็กถูกฝึกให้อ่านจับใจความ  เด็กจะอ่านค่อนข้างเร็ว  เพราะการอ่านจับใจความคือการดึงใจความสำคัญของหนังสืออกมาให้ได้ ฉะนั้นแม้เด็กถูกฝึกแบบนี้ แม้ไม่เคยถูกฝึกอ่านเร็ว เด็กก็จะอ่านเร็วอัตโนมัติเอง เพราะจะต้องดึงใจความออกมาให้ได้มากที่สุด

คุณหนูดียอมรับว่า ปัจจุบันทักษะการอ่านจับใจความนำมาใช้น้อยลง ส่วนตัวเห็นว่าทักษะการอ่านจับใจความยิ่งสำคัญมากในปัจจุบันเพราะข้อสอบกลางเอ็นพีหรือโอเน็ตให้เด็กวิเคราะห์ ฉะนั้นนอกจากจะต้องจับประเด็นให้ได้แล้ว เด็กยังต้องวิเคราะห์ต่อเนื่องได้อีก สามารถตีความยังไงต่อได้

เมื่อถามถึงปัจจุบันที่นิยมอ่านข้อความสั้นๆ ในโวเชียลเน็ตเวิร์ค มีผลต่อวิธีคิดหรือสมองหรือไม่ คุณหนูดี บอกว่า ไม่ใช่แค่ทวิตเตอร์หรืออินสตราแกรม เฟซบุค หรือข้อความที่สั้นๆลง หรือแม้กระทั่งรายการโทรทัศน์ที่แต่ละเบรกจะสั้นลง เพื่อให้คนดูไม่เปลี่ยนช่องหรือหนังสือที่แต่ละบทจะสั้นลง เล่มจะบางลงก็น่าจะตอบสนองกับยุคของคนที่มีสมาธิสั้นลง และความอดทนที่จะอยู่กับอะไรนานๆ ได้น้อยลง อย่างตัวเราอาจต้องระวังตัวเองให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้สมองของเราสมาธิสั้น  ต้องดูว่าเราเสพสื่อโซเชียลมีเดียเยอะแค่ไหน เราสามารถอ่านหนังสือยาวๆ ได้หรือไม่

ถามต่อไปถึงเคล็ดลับการอ่าน คุณหนูดีแนะนำว่า มีพฤติกรรมทำให้สนุกกับสิ่งที่ดูจืดชืดได้  อยู่ในกิจกรรมที่กระตุ้นเร้าตลอด เช่น ไม่ต้องไปเล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีมมากเกินไป ไม่ต้องไปเที่ยวแหล่งอโคจร ดื่มเหล้ายาเพื่อกระตุ้นตัวเอง แต่อยู่กับกิจกรรมธรรมดาให้ได้ จะช่วยให้มีสมาธิที่ยาวได้ ถ้าเราไม่ได้รู้สึกว่าถูกกระตุ้นตลอด คือ ทำให้ชินกับการใช้ชีวิตนิ่งๆ เรียบๆ สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่โดนกระตุ้นตลอด จึงกลายเป็นสังคมที่คนไม่หลับไม่นอน

“ในอเมริกา คนที่รวยที่สุด ก็จะเป็นเจ้าพ่ออินเตอร์เน็ต หรือคนที่รวยที่สุดในโลก ก็จะเป็น คนที่ทำเครือข่ายโทรศัพท์ ส่วนในประเทศไทย คนที่รวยที่สุด ก็จะเป็นคนที่ขายสารกระตุ้น ขายกาแฟ ขายเหล้า ก็ต้องเกิดคำถามว่า ทำไมประเทศของเราเป็นประเทศที่เราต้องกระตุ้นตัวเองหรือ” คุณหนูดี ตั้งข้อสังเกต
สำหรับหนังสือ ที่บางคนอ่านแล้วรู้สึกง่วง คุณหนูดี ยอมรับว่า จริงตามที่มีการพูดกันว่า ถ้านอนไม่หลับให้ไปหยิบหนังสือมาอ่าน ไม่ถึงสิบนาทีหลับเลย ก็ยิ่งทำให้คนเบื่อไม่ค่อยอยากอ่านหนังสือ

คุณหนูดี แนะนำหนังสือที่ควรอ่านว่า แล้วแต่ว่าแต่ละคนชอบอ่านหนังสือแนวไหน  ส่วนตัวเป็นคนอ่านหนังสือหลายแนว แต่แนวที่ชอบมาก คือแนวเกี่ยวกับสมอง  เพราะอยากอัพเดทเทรนด์ต่างๆ  ส่วนที่ชอบรองลงมาคือ หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ และหนังสือออกกำลัง ส่วนในเชิง Self-Health จะชอบอ่านหนังสือ เปิดห้องเรียนแห่งความสุข ของ ดร.ทาล เบน-ชาฮาร์ เป็นเล่มที่น่ารัก เขียนเหมือนสมัยที่เรียนอยู่ด้วย อาจารย์สอนแบบฝึกหัดแบบนี้ อาจารย์ก็นำมาเขียนในหนังสือเหมือนกันเลย  แปลเป็นไทยก็ได้เหมือนและได้อรรถรส ส่วนในเรื่องสุขภาพจะเป็นหนังสือธรรมชาติช่วยชีวิต ของ ดร.ทอม อู๋ จะเน้นเรื่องน้ำผักต้านมะเร็ง รวมถึงหนังสือโยคะ

เมื่อถามถึงการศึกษาเรื่องสมอง คุณหนูดี อธิบายอีกว่า จะเป็นการวิจัยเรื่องสมาธิ ดีอย่างไรต่อสมอง ช่วยให้เพิ่มความจำได้  ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น หรือทำให้เป็นหวัดน้อยลง  สามารถต้านภาวะซึมเศร้าได้ดี  เป็นการนั่งสมาธิแบบวิปัสสนา เป็นงานวิจัยของชาวอเมริกัน ซึ่งเขาไม่ได้ศึกษาสมาธิในเชิงศาสนา แต่ศึกษาในเชิงที่เป็นภาวะของจิตประเภทหนึ่ง

“สมาธิช่วยให้เราสามารถตัดตัวเองจากสภาพแวดล้อมได้ เพราะสมองเอาไว้ตอบสมองจากสภพาแวดล้อม  ฉะนั้นเราจึงตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมตลอดเวลา  จึงกลายเป็นว่า ตัวเราเป็นหนึ่งในสภาพแวดล้อม แต่จริงๆ ตัวเราไม่ใช่สภาพแวดล้อม แต่ถ้าเราฝึกสมาธิ จะสอนว่า  สภาพแวดล้อมมีผลต่อตัวเราน้อยที่สุด มีอยู่ครั้งหนึ่งที่อาจารย์คนหนึ่งให้เพื่อนชาวอินเดียเข้าไปในเครื่องสแกนสมองแล้วนั่งสมาธิเพื่อให้เห็นการทำงานของสมองขณะนั้น และเมื่อเพื่อนเข้าสมาธิประมาณ 15 นาที สมองมีการตัดส่วนที่มีผลต่อประสาทสัมผัส เช่นการมองเห็น การฟัง การรู้สึก ค่อยๆ ลดความแอ็คทีฟลงไป ขณะที่สมองส่วนคิดแอ็คทีฟมาก  เขาจึงเห็นว่าน่ามัศจรรย์มากในการนั่งสมาธิ มันสามารถตัดเราออกจากสภาพแวดล้อมได้ขนาดนั้น” คุณหนูดี เล่าด้วยน้ำเสียงสดใส

เมื่อถามว่าการนั่งสมาธิของตัวเองใช้เวลานานเท่าใด คุณหนูดี บอกว่า จะชอบไปปฏิบัติธรรมเลย  ถ้ามีกาสในแต่ละช่วงของปีก็จะจัดเวลาไป เพราะมองว่า ถ้าอยู่ในเมือง การจะตัดกิจกรรมอะไรก็จะยาก  แต่จะมีการอยู่กับตัวเองเช่นช่วงทำโยคะ ช่วงออกกำลังกาย

สำหรับผลงานเขียนล่าสุดขณะนี้มี 2 เล่ม คือ อัจฉริยะสร้างสุข ฉบับใหม่ ที่เพิ่มเรื่องของความฝันเข้าไปด้วย  จะพูดถึงจิตวิทยาเชิงบวก  เป็นการศึกษาเป็นพิเศษของคนที่มีความสุขในสังคม วิธีการคิด วิธีการใช้ชีวิต ศึกษาสมองของเขาว่าต่างจากคนทั่วไปอย่างไร และยังยืนยันว่า ความสุขสร้างได้ เพราะถ้าดูในเชิงพื้นฐานสมองของคน เราจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความทุกข์ง่าย ซึ่งพัฒนาการของสมองจะหาวิธีให้เรามีชีวิตรอดได้ และการที่เราจะมีชีวิตรอดได้นาน เราก็จะไม่ทำซ้ำในสิ่งที่เจ็บ เสียใจ ธรรมชาติจะบอกให้กันแต่เรื่องไม่ดี  ดังนั้นการคิดเชิงบวกจึงต้องเรียน เพราะไม่ใช่ธรรมชาติของมนุษย์ เป็นการก้าวข้ามข้อจำกัด ซึ่งข้อจำกัดของเรา เป็นสัตว์คิดเชิงลบ เพราะเราต้องป้องกันตัวเอง

“การคิดเชิงลบในสังคมเรา มีส่วนดี เช่น ถ้าเราจะไปลงทุนแล้วคิดเชิงบวกอย่างเดียว ลงทุนไปต้องได้กำไร  แต่พอเจอปัญหาจริงๆ อาจรับไม่ทัน หรือการใช้ชีวิต คิดว่าชีวิตนี้มันดีมาก ถ้าไม่คิดเชิงลบไว้บ้าง แต่ถ้าสุดโต่งเกินไปก็เป็นผลเสีย ก็จะกลายเป็นกลัวไปอีก”

คุณหนูดี บอกอีกว่า  ที่คิดว่าสภาพสังคมตอนนี้มันแย่มากจะให้มีความสุขได้อย่างไร มองว่า สิ่งหนึ่งที่ทำได้คือ อย่าเพิ่งมองโครงสร้างใหญ่ ภาพใหญ่  เพราะเกินอำนาจที่เราจะควบคุมได้ หรืออย่าเพิ่งมององค์รวมชีวิตทั้งหมด มองในแต่ละวันก่อนว่า มีอะไรเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้มีความสุขได้สักอย่างสองอย่าง จะช่วยให้เราสามารถประคองชีวิตต่อไปได้ มีน้องสาวคนหนึ่งที่ชอบไปเที่ยวฝรั่งเศส เขาได้อ่านเรื่องราวของสามีภรรยาชาวฝรั่งเศสคู่หนึ่ง ที่มีวิธีการคิดว่า แต่ละวันหนึ่งจะต้องมีอะไรที่ทำให้มีความสุข 5 อย่าง เช่น ความสุขของคู่นี้ คือ กินชีสที่เป็นอาหารอร่อยด้วยกัน แต่ชีสมันแพง เขาก็จะซื้อก้อนใหญ่มาก้อนหนึ่ง เก็บไว้ในตู้เย็น แบ่งกินวันละนิด นี่ก็เป็นตัวอย่างที่หาอะไรที่ทำแล้วมีความสุขเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวัน

“เริ่มจากเรื่องเล็ก  สะสมไปในแต่ละวัน ส่วนเรื่องใหญ่มันใช้เวลานาน บางคนบอกสังคมช่วงนี้มันเครียด กว่าจะแก้ไขสังคมทั้งสังคม คงต้องใช้เวลาทั้งชีวิตของคนคนนั้น แต่เพียงแค่เริ่มต้นดีๆ ตอนเช้า เชื่อว่าจะดีไปทั้งวัน” คุณหนูดีทิ้งท้ายฝากไว้

อริสรา ประดิษฐสุวรรณ

การอ่านหนังสือเปลี่ยนแปลงสมองของมนุษย์อย่างไร

 
 
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การพูดเกิดขึ้นก่อนการอ่าน การเกิดขึ้นของอักษรกรีกได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ นั่นคือ การเคลื่อนย้ายจากวัฒนธรรมจากปากสู่วัฒนธรรมการเขียน ตัวอักษรไม่เพียงเปลี่ยนแปลงชีวิตของมนุษย์เท่านั้น มันยังเปลี่ยนสมองของมนุษย์ด้วยWalter J.Ongศาสตราจารย์ด้านวรรณคดีภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ศาสนาและปรัชญาผู้เชี่ยวชาญด้านอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงจากภาษาพูดเป็นภาษาเขียนพบว่า ภาษาเขียนทำให้ความรู้เป็นอิสระจากความทรงจำและยังทำให้จิตใจเปิดกว้างต่อการคิดและการแสดงออก ภาษาเขียนยังจำเป็นทั้งต่อวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา รวมทั้งความสามารถในการเรียนรู้ศักยภาพของมนุษย์  การเขียนจึงเป็นการเพิ่มพูนสติปัญญา
ภาษาเขียนได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับนักอ่าน ในยุคกลาง เมื่อจำนวนของคนอ่านหนังสือออกเพิ่มขึ้น จำนวนหนังสือก็เพิ่มขึ้นด้วย  การอ่านได้กลายเป็นหนทางสำหรับความก้าวหน้า  ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 นักเขียนได้กำหนดกฎสำหรับลำดับอักษรที่เป็นมาตรฐาน การกำหนดวรรคเพิ่มความสามารถในการทรงจำทำให้สามารถอ่านได้เร็วขึ้นและเข้าใจได้มากขึ้นส่งผลให้วงจรในสมองเปลี่ยนแปลงไปมาก  การอ่านหนังสือยาว ๆ ทำให้ผู้อ่านต้องอาศัยสมาธิอย่างมากตลอดเวลาอันยาวนานราวกับพวกเขาหลงเข้าไปในหนังสือ  การพัฒนาวินัยทางจิตวิญญาณเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของสมองมนุษย์มักวอกแวกง่าย
การอ่านหนังสือเป็นกระบวนการฝึกฝนความคิดที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ มันต้องการการประคับประคอง และความตั้งใจอย่างไม่เบี่ยงเบนต่อสิ่งเร้าภายนอก ผู้อ่านต้องฝึกสมองของตัวเองให้เพิกเฉยต่อสิ่งเร้าทุกอย่างรอบตัว และต่อต้านแรงกระตุ้นที่จะดึงพวกเขาออกจากความสนใจ พวกเขาต้องแปลงหรือทำให้การเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทเข้มแข็งเพื่อต่อต้านสัญชาติญาณของการวอกแวก
Vaughan Bell นักจิตวิทยาแห่ง King’s College พบว่า ความสามารถในการสนใจอย่างจดจ่อต่องานเพียงอย่างเดียวโดยไม่ถูกแทรกแซงเลยนั้นเป็นความผิดปกติอย่างยิ่งยวดในประวัติศาสตร์ของการพัฒนาการด้านจิตวิทยา  อย่างไรก็ดีมนุษย์ได้ปลูกฝังความสามารถในการให้ความสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างต่อเนื่องก่อนการมีหนังสือและการประดิษฐ์อักษรแล้ว นั่นคือ การเป็นช่างกลุ่มช่างต้องฝึกสมองของพวกเขาให้สามารถควบคุมและมีสมาธิกับสิ่งที่พวกเขาสนใจ
การอ่านหนังสือไม่เพียงมีค่าแค่ให้ความรู้กับผู้อ่าน แต่มันยังเป็นหนทางที่คำพูดของผู้เขียนจะไปเต้นเร้าในจิตใจของผู้อ่าน  บรรยากาศของความเงียบในการอ่านหนังสือต่อเนื่องกันอย่างยาวนานจะทำให้ผู้อ่านสามารถที่จะสรุป เปรียบเทียบและบ่มเพาะความคิดของตัวเองได้  ความคิดของนักอ่านจึงลึกซึ้งขึ้นเมื่อพวกเขาอ่านลึกขึ้น การอ่านหนังสือเป็นการทำสมาธิแบบหนึ่ง มันไม่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยจิตใจ แต่มันเป็นการเติม หรือเสริมสร้างจิตใจมากกว่า เทคโนโลยีของหนังสือเท่านั้นที่ทำให้ความผิดปกติที่แปลกนี้เกิดขึ้นได้
การอ่านและการเขียนไม่ใช่การกระทำโดยธรรมชาติ แต่มันเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมาย จิตใจมนุษย์ต้องถูกสอนให้แปลลักษณะที่มองเห็นให้กลายเป็นภาษาที่เข้าใจได้  การอ่านและการเขียนต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกปรือ และมันเป็นการจงใจสร้างของสมอง  การทดลองพบว่า สมองของผู้ที่อ่านหนังสือได้และไม่ได้มีความแตกต่างกัน ไม่เพียงในเรื่องการเข้าใจภาษา แต่ยังเกี่ยวข้องกับการแปรความสิ่งที่เห็น การให้เหตุผลและวิธีการในการสร้างความทรงจำด้วย
นอกจากนี้นักประสาทวิทยายังพบว่า ผู้ที่เรียนอักษรที่ไม่เรียงตามอันดับอักษร (Logosyllabic) เช่น ภาษาจีน ก็ยังสร้างวงจรในสมองที่แตกต่างจากพวกที่เรียนอักษรเสียง (Phonetic Alphabet)Maryanne Wolf นักจิตวิทยาจาก Tufts University เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่า แม้การอ่านจะใช้สมองส่วน Frontal และ Temporal แต่กลุ่มที่เรียนอักษรที่ไม่เรียงตามอันดับอักษร เช่น ภาษาจีน จะดูเหมือนว่า สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางด้านความทรงจำเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวจะเด่นกว่า สมองที่ใช้ในการอ่านภาษาจากสัทอักษรหรืออักษรจากเสียงพูด (Phonetic Alphabet) ยังถูกกระตุ้นน้อยกว่าสมองที่ใช้ในการอ่านอักษรภาพหรืออักษรที่ไม่เรียงตามอันดับอักษร (Logosyllabic) ด้วย การศึกษายังพบว่าสมองยังทำงานด้วยตำแหน่งที่ต่างกันแม้แต่จะใช้ตัวอักษรที่ใกล้เคียงกันด้วย เช่น คนใช้ภาษาอังกฤษ สมองส่วนที่สัมพันธ์กับการแปลรหัสด้วยสายตาจะทำงานมากกว่าคนใช้ภาษาอิตาเลี่ยน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะภาษาอิตาเลี่ยนออกเสียงเหมือนตัวเขียนมากกว่าภาษาอังกฤษ
เมื่อสมองของผู้ที่อ่านหนังสือได้กับไม่ได้แตกต่างกัน และการอ่านหนังสือเป็นเสมือนหนึ่งการทำสมาธิ พ่อแม่จึงควรส่งเสริมให้เด็กโดยเฉพาะเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นได้มีโอกาสอ่านหนังสือยาว ๆ เพื่อแก้ปัญหาโรคสมาธิสั้นและเพิ่มความสามารถในการบ่มเพาะความคิดด้วย

ที่มา : http://www.naewna.com/columnonline/10453

เทคนิคการอ่านเร็ว

เทคนิคในการอ่านเร็ว

1. ลองหยิบหนังสือเล่มเก่ามาอ่านใหม่ ฝึกการอ่านเร็วโดยการหยิบหนังสือที่เคยอ่านมาแล้วมาอ่านอีกครั้ง เพราะเราทราบแล้วว่าเรื่องราวในหนังสือเป็นอย่างไร จะทำให้ง่ายขึ้น จับเวลาอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วลองแข่งกับเวลาดู การอ่านโดยรู้เรื่องราวมาก่อนแล้วจะทำให้เรามีสมาธิ อ่านได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความเร็วในการอ่านจะค่อยๆดีขึ้นและเราจะพัฒนาการอ่านหนังสือประเภทอื่นๆที่แตกต่างออกไปได้ด้วยในเวลาเดียวกัน
2. ทำความคุ้นเคยกับสิ่งที่จะอ่าน เช่น สังเกตโครงสร้างของหนังสือ รู้จักปกหน้า ปกหลัง สารบัญ ดัชนี บรรณานุกรม
3. ใช้เทคนิค scanning ( แบบค้นหา ) ก่อนเริ่มการอ่าน พูดง่ายๆคือหาประเด็นสำคัญในการอ่านให้พบ เป็น scanning คือการกวาดตาอย่างรวดเร็วเพื่อหาเป้าหมายหรือข้อมูลสำคัญ เราต้องรู้ว่าเราอ่านเพื่อค้นหาอะไรอยู่ เหมือนเวลาเราตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือการตรวจผลรางวัลรายชื่อการจับฉลาก เป็นต้น
4. ใช้เทคนิค skimming ( กวาดสายตาในการอ่าน ) เราควรกวาดสายตาคร่าวๆหาคำสำคัญ หรือประเด็นสำคัญอีกครั้งหลังการอ่าน skimming ( กวาดสายตาในการอ่าน )จะช่วยให้เข้าใจสิ่งที่อ่านมากขึ้น การจับประเด็นสำคัญได้ จะทำให้เราทราบว่าผู้เขียนต้องการอะไร และทำให้การอ่านของเรามีชัยไปกว่าครึ่ง
5. ทำเครื่องหมายในขณะที่อ่านไปด้วย ขีดเส้นใต้หรือทำเครื่องหมายกำกับไว้เมื่อเห็นข้อความสำคัญ สิ่งนี้จะช่วยในการจับใจความ และทำให้การอ่านของเราเร็วขึ้น อย่าทำเครื่องหมายไว้ทั้งหน้า เอาแค่ประเด็นสำคัญเท่านั้น ทำเครื่องหมายไว้ประมาณ 10% ของทั้งหมด ส่วนอีก 90%เป็นรายละเอียดของเนื้อหาซึ่งต้องอ่านให้เข้าใจ การทำเครื่องหมายจับประเด็นสำคัญๆเอาไว้จะทำให้การอ่านของเราง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้นในเวลาเดียวกัน
6. การอ่านหนังสือที่ถูกต้องไม่จำเป็นต้องออกเสียงออกมาด้วย และไม่ต้องสะกดที่ละคำ เพราะจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Cambridge สหรัฐอเมริกาค้นพบว่าสมองของเราถูกออกแบบมาให้อ่านโดยภาพรวม เช่น ฉัรนกัธเอ ก็สามารถอ่านออกได้ทันทีว่า ฉันรักเธอ ดังนั้นการอ่านออกเสียงจะทำให้สมองต้องทำงานหลายขั้นตอน
7. อ่านแล้วสร้างภาพขึ้นในสมองด้วย จะทำให้การทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น ฉันเห็นนกสีแดงเล็กๆบินสูงบนท้องฟ้าสีคราม
8. ปัจจัยที่ทำให้การอ่านช้าลง คือ ความเหนื่อยล้า การขาดแรงจูงใจ การค่อยๆอ่านไปเรื่อยๆไม่มีจุดหมาย และการอ่านแบบต้องการความเข้าใจแบบ 100% รวดในครั้งเดียว
หากเราฝึกความสามารถในการอ่านเร็วได้ นอกจากจะเป็นการพัฒนาให้เรามีความรู้ที่กว้างไกลแล้ว การอ่านเร็วนั้นเป็นพัฒนาสมองของเราให้ฉลาดขึ้นโดยไม่รู้ตัวด้วย ขอเป็นกำลังใจให้ผู้อ่านทุกคนค่ะ

โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

 ผู้จัดการออนไลน์

ฉลาดได้อีก ฉบับฉลาดชาตินี้ ดีกว่ารอชาติหน้า

ฉลาดได้อีก ฉบับฉลาดชาตินี้ ดีกว่ารอชาติหน้า
 
 
หนังสือเล่มนี้จะเปิดมุมมองใหม่ของชีวิตให้คุณรู้ว่า
 วิธีคิดและการใช้ชีวิตที่...ฉลาดได้อีก มีสุขได้อีกเยอะ
เป็นที่รักได้อีกมาก และสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง
สามารถนำไปใช้ได้ทันที เห็นผลทันตา โดยไม่ต้องรอชาติหน้า
 
              50 คมคิดที่สะกิดใจคนอ่าน ให้ฉลาดล้ำ
พร้อมคำตอบชีวิต...”ดี ที่ สุด”
ซึ่งคุณจะไม่เคยได้จากที่ไหนมาก่อน
นำเสนอในรูปเล่มที่กะทัดรัด มีสีสัน น่าอ่าน พกพาสะดวก  เนื้อหา 4 สีทั้งเล่ม
 
 
ที่มา : http://www.booksmile.co.th